ประวัติการแพทย์แผนไทย
ประวัติการแพทย์แผนโบราณ เริ่มมีการบันทึกตั้งแต่สมัยพุทธกาล มีชายผู้หนึ่งสนใจวิชาแพทย์ ชื่อ ชีวกโกมารภัจจ์ จึงได้ไปศึกษาวิชาแพทย์ที่สำนักทิศาปาโมกข์ในเมืองตักศิลาจนจบได้อย่างรวดเร็วและสามารถผู้ป่วยครั้งเดียวหาย ครั้งหนึ่งพระเจ้าพิมพิสาร ทรงพระประชวรเป็นโรคพระคันทละ (ริดสีดวง) ทรงโปรดให้หมอชีวกมารภัจจ์ถวายการรักษา ซึ่งรักษาครั้งเดียวหาย พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงโปรดให้เป็นแพทย์หลวง ประจำพระองค์ ประวัติการแพทย์แผนไทย สมัยก่อนสุโขทัย ประมาณปี พ.ศ. ๑๗๒๕ – ๑๗๒๙ – สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้างสถานพยาบาล เรียกว่า อโรคยาศาลา มีผู้ทำหน้าที่ในสถานพยาบาลรวม ๙๒ คน มีพิธีกรรมบวงสรวง พระไภสัชยคุรุไวทูรย์ ด้วยยาและอาหารก่อนแจกจ่ายให้ผู้ป่วย สมัยสุโขทัย – พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงสร้างสวนสมุนไพรบนเขาหลวงหรือ เขาสรรพยา เพื่อให้ประชาชนได้เก็บสมุนไพรไปใช้รักษาโรคยามเจ็บป่วย สมัยอยุธยา -สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการรวบรวมตำรับยาต่างๆขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่า ตำราพระโอสถพระนารายณ์ สมัยรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ ๑ ทรงให้รวบรวมและจารึกตำรายาและฤาษีดัดตน ตำราการนวดไทยไว้ตาม ศาลาราย มีการจัดตั้งกรมหมอ หมอที่รับราชการเรียกว่า หมอหลวง หมอที่รักษาประชาชนทั่วไป เรียกว่า หมอราษฎร หรือหมอเชลยศักดิ์ […]